ReadyPlanet.com
dot
bulletRhetoric For Leadership การฝึกพูดหลักวาทศาสตร์ผู้นำ
bulletคอร์สฝีกอบรมเทคนิคการนำเสนอแบบมืออาชีพ Professional Presentation
bulletคอร์สฝึกพูดและพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา
bulletคอร์สพัฒนาบุคลิกภาพและฝึกพูดเพื่อการทำงานสัมภาษณ์งาน
bulletคอร์สฝึกพูดเป็นวิทยากรระดับผู้เชี่ยวชาญ--Expert Speaker Speech Practice Course
bulletคอร์สการพัฒนาภาวะผู้นำและการสื่อสาร Leadership & Effective Communication Development Course
bulletตอบคำถามรายละเอียดคอร์สฝึกพูดฯ58
bulletคอร์สฝึกอบรมศิลปะการพูดในการฝึกอบรม
bulletคอร์สการพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดเพื่อการทำงาน
bulletคอร์สการเป็นวิทยากรเชิงปฏิบัติการด้านจิตและการพัฒนาจิต
bulletคอร์สฝึกเสียงเพื่อการพูดและการร้องเพลง
bulletประชาสัมพันธ์คอร์สยอดนิยม
bullet“คอร์สทักษะการนำเสนอแบบมืออาชีพและการพูดเวทีสาธารณะ เพื่อปฏิบัติงานในการประชุมระดับนานาชาติ”
bulletPublic Speaking and Leadership Building Course for International Students
bulletแบรนด์แนมทรัสเบส TRBAS สำหรับบริการแก่องค์กร
bulletคอร์สพัฒนาศักยภาพแนวใหม่ แบบ on line ผสมผสานเปิดแล้ว
bulletข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ฝึกทักษะการพูดและพัฒนาบุคลิกภาพวาทศาสตร์ผู้นำ
bulletใบสมัครลงทะเบียนจองคอร์ส- Registration Form
bulletคอร์สฝึกภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ Integrated English
bulletผลงานทางวิชาการและวิจัย




บทความพิเศษ article

บทความพิเศษ

สงครามศาสนา: Religious Wars

วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

 

๑.      สงครามศาสนาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

                             

               มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่มีศาสนา สงครามของความเชื่อเกิดขึ้นมาหลายๆครั้งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างหลากหลาย ก่อให้เกิดวิถีปฏิบัติที่แตกต่าง แบ่งแยก และแปลกแยก โดยแต่ละศาสนามีอุดมการณ์มุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาความบริสุทธิ์ ความมั่นคง ของศาสนาและหลักศรัทธา ทำให้เกิดภาวการณ์ยึดมั่นถือมั่น ที่นำไปสู่การไม่ลงรอยกันในที่สุดนอกเหนือจากความแตกต่างหลากหลายระหว่างชาติพันธ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม

           ความแปลกแยก มีพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนอคติทางศาสนา แฝงเร้นไว้ด้วยความรู้สึกต่อต้านกัน เป็นศัตรูกัน ถือเขา ถือเรา โอกาสที่จะเกิดความกระทบกระทั่งกันได้ง่าย แม้ในเรื่องเล็กน้อย ที่โน้มนำไปสู่ความรู้สึกดูหมิ่น ดูแคลน  ขาดความเชื่อมั่นที่ดีต่อกัน การเอารัดเอาเปรียบและการกระทำที่รุนแรง ยิ่งยึดมั่นเท่าใด ปฏิกิริยาย่อมทวีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

               เราลองมาสำรวจดูในประวัติศาสตร์โลกกันว่าโลกของ เรา “ฆ่ากันตายหมู่เพราะความเชื่อ” มากี่ครั้งกี่หนแล้ว เริ่มต้นที่ทวีปเอเชีย แดนดินถิ่นตะวันออก อู่อารยธรรมบ่อเกิดศาสนาของโลก   (แผนที่โลก-ไม่ได้ใส่มา)

                      ภูมิภาคแถบนี้ มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนหลายครั้งในดินแดนแถบชมพูทวีป คือ อินเดีย จีน และขณะนี้ การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในแถบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย และจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศไทย จะเรียกได้ว่าเป็น “สงครามศาสนา” หรือไม่ แม้คำตอบที่ต้องการคือ “ไม่เป็น” และ “เจ้าประคู้นอย่าเป็นเช่นนั้นเลย” แต่ถ้ากำลังจะมีศาสนิกชนผู้เคร่งศรัทธาบางกลุ่มต้องการทำให้เกิด “สงครามศาสนา”!!!

             ขออย่าให้ใครคิดใฝ่ฝันที่จะจัดการจัดการโลกด้วยอุดมการณ์สงครามศาสนาเลย!!!

แผนที่ทวีปเอเชียตะวันออก

                คนในประชามคมแถบนี้จะทำอย่างไร? เราจะมาหลงผิดฆ่ากันแล้วไม่บาปกระนั้นหรือ? ทั้งๆที่การฆ่าชีวิตถือเป็นบาปมหันต์ ในทุกศาสนา มีใครบางคนศรัทธาว่า “ฆ่าคนนอกรีต” หรือ “ฆ่าคนนอกศาสนา” ไม่บาป ถ้าเช่นนั้นก็ต้องย้อนถามกลับไปว่า “คำสอนและศรัทธาที่ป่าเถื่อนเช่นนี้” เป็น “หลักศรัทธาบริสุทธิ์” ของศาสนาที่ท่านนับถือศรัทธาจริงหรือ?  ถ้าท่านต้องการความผาสุก และ สวรรค์ ทำไมเราต้องมาเข่นฆ่ากัน ท่านทั้งหลายต้องนั่งลง หันมาช่วยหาคำตอบที่ถูกต้องเที่ยงธรรม ไม่ใช่คำตอบแบบอคติผิดๆอีกต่อไป

          ท่านทราบหรือไม่ว่าในดินแดนแถบนี้ เราฆ่ากันเพราะความเชื่อทางศาสนามากี่ครั้งกี่หนแล้ว ลองมาสืบค้นข้อมูลโลกกัน ณ บัดนี้

                ชมพูทวีป หรือ อินเดีย เป็นอู่อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่และบ่อเกิดศาสนาสำคัญของเอเชีย ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธ สิกข์ เชน และลัทธิต่างๆอีกมากมาย

             เราลองมาดูสถิติศาสนิกชนศาสนาต่างๆในประเทศอินเดียว่า มีมากน้อยเพียงใด

 

 

ประชากรจำแนกตามศาสนา

Religious distribution of the Population

                     ศาสนา

ร้อยละของประชากรทั้งหมด

ฮินดู-Hindus

81.3%,

มุสลิม-Muslims

12%

คริสเตียน-Christians

2.3%

สิกข์-Sikhs

1.9%,

พุทธศาสนิกชน-Buddhists

2.5%

เชน-Jains

2.5%

ยูดาห์-Judaists

0.005 %

อ้างอิงจากSource: 2004 census of India

 

           ประชากรอินเดีย เมื่อเทียบจากสถิติโลก Population 2005-05-08

1. China

1,305,155,753

2. India

1,078,138,586

3. USA

295,324,586

4. Indonesia

241,480,259

5. Brazil

185,842,302

World

6,441,120,825

ประเทศอินเดียติดอันดับประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอันดับที่สอง จำนวน ๑,๐๗๘,๑๓๘,๕๘๖ คน กว่าหนึ่งพันล้านคน เป็นชาวฮินดูร้อยละ ๘๑ ของประชากรทั้งหมด ล่าสุดตอนนี้สถิติของ www.cia.gov/cia/publications/factbook/geos/in.html   มีจำนวนประชากร อยู่ที่ 1,080,264,388 (July 2005 est.) จากรายงานความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ของ INTERPRETIVE REPORTS ON ETHNIC, RELIGIOUS AND INTER-NATIONAL CONFLICTS WORLDWIDE ในประเทศนี้ก็มีความขัดแย้งระหว่างศาสนาอยู่เป็นประจำ เหตุการณ์สำคัญเริ่มมาตั้งแต่การแยกประเทศเป็นอินเดีย ปากีสถาน ชาวมุสลิมประกาศสงครามศักดิ์สิทธิ์และเริ่มก่อความไม่สงบมาตั้งแต่ปี 1989 โดยปากีสถานใช้กำลังทหารเข้ายึดครองแคชเมียร์

 

                          นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการกระทำรุนแรงต่อกันระหว่างศาสนิกชนทั้งสองศาสนา มาโดยตลอด ทำให้มีนักคิดมนุษยนิยมบางกลุ่มในประเทศอินเดียได้ก่อตัวขึ้นเป็นกลุ่มRationalist-กลุ่มนักเหตุผลนิยม”เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาที่นำไปสู่ความรุนแรงระหว่างศาสนาด้วยการคิดใหม่    ทำใหม่ และมีการตั้งกลุ่มรายงานและให้ความช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อในการขัดแย้งเชิง ศาสนากับการเมือง   เช่น ในบางประเทศมีการตัดสินประหารชีวิตบุคคลที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับความเชื่อทางศาสนาของผู้นำเป็นต้น                 

                   เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในกลุ่มศาสนิกชนที่เชื่อมั่นว่า ศรัทธาของตนเองนั้นบริสุทธิ์ที่สุดเหนืออื่นใด และไม่ได้เรียนรู้ความอดกลั้นอดทนต่อความหลากและความแตกต่างทางความคิดและความเชื่อ คนที่ยึดมั่นศรัทธาศาสนาทำนองนี้ จะทนไม่ได้ที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนที่มีศาสนทรรศน์ที่ต่างไปจากตน เรียกว่า ไม่มี “religious tolerance” หมู่ชนใด สังคมในประเทศและประชาคมใดที่มีคนคิดแบบนี้ มีโอกาสแปลกแยกเป็นศัตรูกันสูง โอกาสทะเลาะกันง่ายมีมาก โอกาสที่จะเบียดเบียนบีฑาฆ่าฟันกันมีสูง เป็นสังคมที่ขาดความผาสุก ต้องมาคอยนั่งหวาดระแวงกันว่า ใครจะมาราวีใคร จะทำมาหากินก็ไม่สะดวก กลัวถูกลอบทำร้าย กลัวบอมบ์ ในที่สุดก็ต้องหยุดชีวิตปกติที่เคยได้ทำมาหากิน ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว ที่จะได้ไปเรียนหนังสือ ที่จะได้ไปเที่ยวเล่น ย่อมทำไม่ได้ ต้องหลบซ่อนหวาดกลัวอยู่ในที่ปลอดภัย เหมือนชีวิตที่หายใจได้ไม่เต็มปอด ขาดความมั่นคงไปทุกด้าน ในที่สุด ไม่ได้ทำกินนานวันเข้า ก็นำพาชีวิตไปสู่ความยากจน ไม่รู้วิชา สุขภาพเสื่อมโทรมทั้งร่างกาย จิตใจมีแต่ความทุกข์ ชีวิตเสื่อม สังคมเสื่อมถอย หันมาจับอาวุธต่อสู้กันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง สังคมมีแต่แม่หม้าย เด็กกำพร้า และคนพิการ มองไปทางไหนก็มีแต่ซากปรักหักพัง คนไร้ที่อยู่อาศัย  สารพิษจากอาวุธสงครามกลาดเกลื่อน   ไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร สิ้นหวัง รอคอยความตายที่เยือกเย็น

                      ในภูมิภาคแถบตะวันออกกลาง ถือว่า เป็นแหล่งกำเนิดของสงครามศาสนาฉบับคลาสสิก ที่เรียกว่า “สงครามครูเสด-The Crusade War” แม้ในปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างศาสนายูดาห์ คริสต์ อิสลาม ก็ยังคงมีอยู่ ทั้งๆที่นับถือศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน ข้อขัดแย้งเป็นผลมาจากการตีความหลักศีลวัตรที่แตกต่างกันไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าและเชื้อชาติ และการตีความหลักคำสอนบางเรื่องแตกต่างกันไปอย่างที่เรียกว่า “ต้องบาดหมางกัน”

                    นักปราชญ์กรีกโสกราตีสและเพลโต เคยให้ปรัชญาความรู้เตือนใจไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า คนเราจะต้องแยกแยะให้ออกว่า อะไร เป็นความรู้ ความศรัทธา ความเชื่อ และความคิดเห็น แต่มนุษย์เราก็มักจะตกไปอยู่ในวังวนของการยึดถือ ยึดมั่น ว่า ความเชื่อถือ ศรัทธาและความคิดเห็นของตนเอง ย่อมถูกต้องกว่าของใครอื่นเสมอ ความขัดแย้งระหว่างสามศาสนานี้ เป็นปัญหาความมั่นคงของโลกมาโดยตลอด แม้ว่า ปัญหาจะแปรรูปเป็น การแก่งแย่งทรัพยากรและดินแดนกันไปแล้วก็ตาม

                  สถิติจำนวนประชากรชาวยิว ชาวคริสต์ และชาวมุสลิม และศาสนาอื่นๆ รวมทั้งผู้ไม่นับถือศาสนาใดๆ ในประชาคมโลก ในขณะนี้ (แผนภาพ-ไม่ได้ใส่มา)

                การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรศาสนิกชน และการเผยแผ่ศาสนา มีนัยที่น่าสนใจที่เชื่อมโยงไปถึง ความเป็นชนหมู่มากและความเป็นชนหมู่น้อย มนุษย์มีแนวโน้มที่มักจะคิดว่า ใครพวกมากกว่า ย่อมสำคัญกว่า  ถ้าคิดอย่างนี้ก็ย่อมนำไปสู่การคิดแบ่งแยกกันเอารัดเอาเปรียบกันแล้ว ความขัดแย้งที่บานปลายย่อมเกิดได้ แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของสงครามศาสนา

 

๒.สงครามครูเสด : ต้นแบบของสงครามศาสนา

           ความขัดแย้งของโลกในปัจจุบันมักจะต่อสู้กันภายใต้วาทะที่มีคำว่า “สงครามศักดิ์สิทธิ์-a holy war”

                   ความเชื่อเรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลมาตั้งแต่ยุคที่ชาวยิวภายใต้การนำของท่านโมเสส  พากันอพยพหนีความเป็นทาสจากจักรวรรดิอิยิปต์โบราณ และพากันมาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนที่พวกเขาเชื่อมั่นศรัทธาว่า เป็น “ดินแดนแห่งพันธะสัญญา-The Promised Land” บรรพบุรุษชาวฮีบรูว์ทำสงครามก่อตั้งดินแดนด้วยการอัญเชิญพระบํญญัตินำหน้ากองทัพ เชื่อมั่นว่า เป็นสงครามเพื่อ “ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์-The Holy Land”ซึ่งในปัจจุบันนี้คือ “นครเยรูซาเล็ม-Jerusalem”

             แต่แนวคิดการสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อการฆ่าและการเบียดเบียนไม่มีปรากฏเป็นหลักคำสอนหากหลอมรวมตัวอยู่ในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อพิทักษ์เยรูซาเล็ม ที่ประดิษฐานของพระนิเวศเพื่อสักการบูชาพระยะโฮวาห์ (The Temple) ซึ่งปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงซากำแพงที่ชาวยิวทั่วโลกต้องจารึกบุญไปสวดมนต์คร่ำครวญชนชาติฮีบรูว์ นับถือศาสนายูดาห์ (Judaism) ซึ่งแตกต่างจากศาสนาอื่นๆตรงที่เป็นศาสนาแห่งขนบประเพณี (Tradition) ที่ใช้เป็นแบบแผนปฏิบัติสืบต่อกันมานับเป็นพันๆปี โดยยึดหลักพระบัญญัติ หรือกฎหมายทางศาสนาใช้เป็นจารีตปกครองและกฎหมายร่วมกันเป็นกฎหมายศาสนาที่อยู่รากฐานของกฎหมายโมเสส ที่จารึกไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิลโทราห์

           นครเยรูซาเล็ม ได้ผ่านกาลเวลาอันยาวนาน มีชาติมหาอำนาจที่เข้ามายึดครองอยู่ทุกยุคสมัย ศาสนายูดาห์มีแบบฉบับการปกครองด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นแบบฉบับของการตุลาการและการอำนวยความยุติธรรม ชนชาติต่างๆจึงนำหลักพระคัมภีร์ไบเบิลไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและการปกครองสังคม มีการแปลพระคัมภีร์ไบเบิลหลากหลายภาษา ต่อมานครเยรูซาเล็มยิ่งมีคุณค่าความสำคัญทางศาสนาของศาสนาคริสต์  และศาสนาอิสลาม พระมหาวิหาร มีจุดที่ตั้งที่เชื่อกันว่า เป็นทางไปสู่สวรรค์

 

                         เมื่อจุดระวางที่ตั้งเป็นที่รวมความสำคัญของทุกศาสนา จึงมีความพยายามที่จะพิทักษ์ ปกป้อง เพื่อความบริสุทธิ์และมั่นคงของศาสนา นี่คือที่มาของสงครามศาสนาของโลกมนุษย์เรา

          สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามระหว่างมนุษยชาติ เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่คริสตวรรษที่ ๑๑ ถึง ๑๓ จากศาสนจักรโรมันคาธอลิก พระสันตปาปาที่กรุงโรม ที่ต้องการยึดครองนครอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พ้นจากเงื้อมมือของพวกมุสลิม และชาวคริสต์บางกลุ่มที่อยู่คนละฝ่ายกับศาสนจักร เช่น เมื่อคราวสงครามครูเสดครั้งที่ ๔ ที่ต่อต้านพวกคอนสแตนติโนเปิลกับสงคราครูเสดกับพวกอัลบีเจนเชียน (The Albigensian Crusade) และสงครามครูเสดต่อต้านพวกคาธาร์ (The Cathars) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส

 

                  “สงครามครูเสด” มีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม (righteous) เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนา (a religious justification) ทำนองว่า เป็นสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องชอบธรรมตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า (God with us) ซึ่งชาวมุสลิมใช้คำว่า “จิฮัด-jihad”

                     ต่อมาในภายหลังคำว่า สงครามครูเสดถูกนำไปใช้ในทำนอง การรณรงค์ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมด้านต่างๆ และมีการนำไปใช้ในการก่อการร้ายกับเพื่อนมนุษย์ ว่า เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า “ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์”

              ยุโรปในยุคกลาง มีสงครามระหว่างชนชาติเกิดขึ้นมากมาย พร้อมๆไปกับการกระทำรัฐชาติต่างๆให้เป็นรัฐชาติคริสเตียน ศาสนจักรโรมันคาธอลิกในยุคนั้นจึงทรงอำนาจทางการทหารแบบฉบับจักรวรรดิโรมัน  

                   สงครามครูเสด เป็นที่มาของตำนาน “ขุนศึก-The Knights” ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์ประชาชน   ภายใต้พระบัญชาและได้รับการสนับสนุนจากพระสันตปาปา ภาพลักษณ์ของขุนศึก คือ ผู้พิทักษ์ความชอบธรรมแก่ผู้ที่ไปจาริกแสวงบุญที่นครศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีนัยเป็นการต่อสู้ระหว่างตะวันตก คือ คริสตจักร กับ ตะวันออกคือ อาหรับมุสลิม ต่างผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ และบางครั้งก็จเรจากันได้ เกิดสันติภาพ ที่ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติในนครเยรูซาเล็มได้

 

                  การที่ใครจะมายึดครองเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เพียงผู้เดียว คือปัญหาที่ยิ่งใหญ่

                 สงครามครูเสด เกิดขึ้นเพราะ การแย่งกันเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว เราลองมาศึกษาเหตุการณ์ในสงครามครูเสด บางช่วงที่น่าสนใจ

          -จักพรรดิ์อเล็กซิอุส โดยพระบัญชาของพระสันตะปาปาเออร์บันที่II ทำสงครามต่อต้านพวกมุสลิม ในดินแดนไบเซ็นทีน สงครามครูเสดครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๑๐๙๕ มีเจ้าชายจากแว่นแคว้นต่างๆเข้าร่วมรบ เช่น เจ้าชายจากอิบิเลีย เจ้าชายจากแคว้นเดอลิยง คิงอาร์เธอร์ กษัตริย์ของพวกแองโกลแซกซอน หรือคนเชื้อสายอังกฤษในปัจจุบัน

      -สงครามครูเสด ทำให้เกิดตำนานกษัตริย์นักรบจากยุโรปผู้เรืองนาม เช่น พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์(Richard the Lion Heart)

          -สงครามครูเสด ครั้งที่ สาม เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๑๑๘๗ เมื่อซาลาดิน-Saladin เข้ายึดนครเยรูซาเล็ม พระสันตปาปาต้องขอกองกำลังจากกษัตริย์ในยุโรปมาช่วยรบ

              ซาลาดิน (ค.ศ.๑๑๓๗-๑๑๙๓) เป็นกษัตริย์นักรบแห่งอิยิปต์มุสลิม มีพระนามเต็มว่า  ซาลาห์ อัล ดิน อิบ อยยุบ(Salah al Din Ayyub- صلاح الدين يوسف ابن ايوب))คำว่า ซาลาห์ อัล ดิน แปลว่า ความชอบธรรมแห่งศรัทธา-The Righteousness of Faith) ท่านเป็นที่รู้จักเลื่องลือไปทั่วทั้งหมู่ชาวคริสต์และมุสลิมในฐานะผู้นำและขุนศึกที่ทรงคุณธรรมที่เปี่ยมด้วยเมตตา  ในตำนานของสงครามครูเสด

         สงครามครูเสด เกิดขึ้นย่อยๆอีกรวมเก้าครั้ง จนในที่สุดตกอยู่ในการยึดครองของจักรวรรดิอิสลามเติร์ก ผลกระทบของสงครามครูเสดมีอย่างมหาศาล ในหลายๆด้าน ทั้งต่อภาคพื้นยุโรป ต่อประชาคมชาวมุสลิม และประชาคมชาวยิว และสงครามครูเสดแบบฉบับกำลังได้รับการนำมากล่าวอ้างเพื่อการทำสงครามที่ชอบธรรมระหว่างมนุษยชาติได้อีกครั้ง

3.สันติภาพกับระหว่างศาสนา

                  สงครามศาสนา เป็นจุดอ่อนของมนุษยชาติ แม้สงครามนั้นจะเรียกว่า สงครามเพื่อความชอบธรรม เพราะระหว่างทางเลือก ๒ ทางที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสบายใจ คือ สงคราม หรือ สันติภาพ คือ ความรุนแรง หรือ สันติ  ทุกฝ่ายต้องฝึกฝนความอดกลั้นต่อกันและเรียนรู้หลักแห่งความปรองดองที่ศาสนาสั่งสอนไว้ ซาลาดิน เป็นแบบฉบับของนักปกครองที่ให้มีการเจรจา เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

                     ศาสนา จึงเป็นกุญแจสำคัญที่สุด ที่จะไขเข้าไปสู่ ประตูชัยแห่งสันติภาพของมนุษยชาติ

                    จิตวิญญาณแห่งสันติภาพ ต้องได้รับการปลุกให้ตื่นขึ้นและกระทำปฏิบัติบูชา  “สันติสุข”

             ผู้นำทางศาสนา ต้องร่วมมือกันสนับสนุนสันติภาพ

                    ผู้นำประชาคม ชุมชน ต้องสนับสนุนสันติภาพ

             ชาติมหาอำนาจในโลก ต้องเป็นผู้นำในการกระทำสันติภาพ

                   ทุกชาติ ทุกศาสนา ต้องไม่เบียดเบียนกันอีกต่อไป.

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานผลการวิจัยเรื่อง

“ลักษณะของปัญหาทางจริยธรรมธุรกิจที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2539 ถึงปัจจุบัน

:ศึกษาเปรียบเทียบในชุมชนเมืองใหญ่ใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย”

Academic Paper:A Research Report On

“Characteristics of Business Ethical Problems Happening During the Period of Thai Economics  Crisis From July 1996 to the Present Time: A  Comparative Study between Populations in the Urbanized Communities in the 5 Main Regions of Thailand”

โดย

วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

Wareeya Bhavabhutanonda Na Mahasarakham

ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม

Humanities Department,The  Faculty of Social Sciences & Humanities,

Mahidol University,Salaya,Nakornpathom Province

ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ข. เงินงบประมาณแผ่นดิน

 สนใจสอบถามที่ wareeya@hotmail.com

my new academic paper on business ethics is as following:-

Impacts of Business Ethical ProblemsOn Human Well-being and Quality of Life

Impacts of Business Ethical Problems

On Human Well-being and Quality of Life:

 A  Case Study of 

The Five  Main Regions of Thailand

Asst.Prof. Wareeya Bhavabhutanonda Na Mahasarakham

www.wareeya.com

Mahidol University,Thailand

 

 

Abstract

 

          Business ethical problems have been considered as significant factors that have had played widely impacts on human well-being and quality of life in many countries around the world. This paper is written on the basis of  a  national research report titled, “A research on Characteristics of Business Ethical Problems Happening During the Period of Thai Economic Crisis From July 1996 to the Present Time: A Case Study between Populations in the Urbanized Communities in the 5 Main Regions of Thailand.”,  research fund granted   by the National Fiscal Budget and Mahidol University, Thailand.

 

          As business ethics is an applied science between ethics as a field of philosophy and business profession, the paper concentrates on the stakeholders and the good governance principles towards the pursuit of human well-being and quality of life for all. The term “business” has vast definitions and covers all parts of our livings. It can be defined as a  line of work: a particular trade or profession, or as  a commercial organization: a company or other organization that buys and sells goods, makes products, or provides services, or as  a commercial organization: a company or other organization that buys and sells goods, makes products, or provides services, or as
level of commerce: the amount of commercial activity or patronage that exists at a particular time,
 and or as  a patronage: the commercial dealings that a person or organization has with another person or organization. Approximately, business can be also categorized into 12 types of commercial enterprises, viz,,(1) service business, (2) telecommunication business ,(3) construction and related engineering services, (4) distribution services and franchising , (6) education services, (7) financial services, (8) Health cares services, (9) tourism, hotels, restaurants and excursion guide services, (10) entertainments, cultural activities, sports services, (11) transportation services, and (12) others services not mentioned above. Therefore, business ethics concerns on those huge ethical issues caused both directly and indirectly by any commercial enterprises’ activities.

 

                    The problems of moral hazards, adverse selections and market failures, dehumanized treatments, and environmental violations, give effects to human conditions and qualities of life in many levels, that is , personal, public, organizational and corporation levels. Business ethical problems have impacts on at least 3 dimensions of human existence-(a) physical, (b) psychological (this includes mental, and spiritual dimensions) , and (c) social dimensions. According to the research report  mentioned before, business ethical problems that gave strongly impacts to Thai people  in the 5 main regions of  Thailand, analyzed through the stakeholders principles were characterized into 20 categories .

 

             Briefly, among those twenty characteristics of business ethical problems found in the research, there were fourteen characteristics that gave strong impacts to Thai people. Evidently these can be categorized into three major impacts on human well-beings and quality of life. Firstly, the Physical Impacts occurred by the characteristics of business ethical problems on: - (1) injustice price and unfair market (monopoly market), (2) unsafely and low quality products, (3) unskillful entrepreneurship services, and (4) low payment income employments. Secondly, the Psychological, mental and spiritual Impacts occurred by the characteristics of business ethical problems on:-  (1) the frau business or bad business entrepreneurship, (2) dishonest contacts, (3) deceived advertising, (4) dehumanized treatments that violate human rights and animal –maltreated , and (5)  cultural annihilations and immoral  business entrepreneurships. Thirdly, the Social Impacts occurred by the characteristics of business ethical problems on:- (1) business entrepreneurships that  intervene  on  state corruptions  to empower  business empiricism for  their own sakes,(2) business entrepreneurships that pay no awareness on social responsibilities, and (3) business entrepreneurships that  violate environments.

 

                   Consequently, those characteristics of business ethical impacts   caused the sampling populations in the 5 main regions of Thailand outcome unwell-beings and low qualities of life. They identified those unhappy outcomes that: - (1) from unemployment situation after graduation  to  low income payment, (2)  the first situation brought their lower qualities of  life  ,(3) gaining  psychological depressions towards life conditions , (4) effects on family life and child cares ,(5) higher risks of  crimes violations against life and properties,(6) gaining more  dissatisfactions towards disadvantages situations in  social well –being. Accordingly and predictably, the impacts of characteristics of business ethical problems that had been left unawareness would   have caused a new evil circle of economics, socio-political crisis in any developing countries as well as in our Southeast Asia region.

 

                In conclusion, the issues of human well-being and quality of life in the Southeast Asian countries are still being the central agenda on the business ethics concerns. Unawareness of these problems might collapse our sustaining growth and prosperity in our economic region and our populations would still be neglected in poverty, lower quality of life and unhappy existence. Hence, the business regimes that are overwhelmingly taking over the states in form of the “political business entrepreneurships- business enterprises that take over the state and control all social wealth for their own sakes only”, give rise to a new issue in business ethical studies in the Southeast Asia Studies, that should be an aim to this ‘Dialogue Across Borders: Cooperation Amidst Crises’, Southeast Asian Conference, for more and higher considerations.

 

 

Asst.Prof. Wareeya Bhavabhutanonda Na Mahasarakham . www.wareeya.com. (2005). “Impacts of Business Ethical Problems  On Human Well-being and Quality of Life:  A  Case Study of   The Five Main Regions of  ThailandMahidol University,Thailand. Submitted to THE SECOND INTERNATIONAL MALAYSIA-THAILAND CONFERENCE ON  SOUTHEAST ASIAN STUDIES, ‘Dialogue Across Borders: Cooperation Amidst Crises’ .organized by Faculty of Social Sciences and Humanities, Universiti Kebangsaan Malaysia and Mahidol University International College, Thailand. Date: 29 November - 1 December 2005. Venue: Universiti Kebangsaan Malaysia.

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด





บทความ-acedemic paper article
เรียนภาษาอังกฤษจากคัมภีร์ทางศาสนาทางไปรษณีย์ article
ชมรมเพื่อนสากล-The International Friends' Club article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
wareeya.com :ศูนย์แห่งการพัฒนาศักยภาพแบบบูรณาการ-a center for integral human potentiality development ,consultant and services. Network Cooperation with TRBAS