บทความทางวิชาการ
เรื่อง
การศึกษาแบบบูรณาการ: กรณีศึกษาการบูรณการศาสนากับการแพทย์
บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการศาสนากับการแพทย์ ๕ หัวข้อใหญ่ ได้แก่ (๑) ความหมายและระบบแนวคิดสำคัญของการศึกษาแบบูรณาการ (๒) ศาสนา (๓) การแพทย์ (๔) การบูรณาการศาสนากับการแพทย์กับสังคมไทย และ (๕) สรุป วิจารณ์ และเสนอแนะ
กระบวนการแบบบูรณาการของชาวตะวันออกมีมานับเป็นพันๆปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิถีแห่งพระพุทธศาสนา ในขณะที่กระแสคิดแบบตะวันตกเพิ่งมาตื่นตัวกันในเรื่องการศึกษาแบบูรณาการมาเมื่อต้นสหัสวรรษใหม่นี้เอง ทั้งนี้เป็นผลมาจากความไม่สมดุลของการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์อย่างวัตถุนิยมและเฉพาะทาง การศึกษาแบบบูรณาการได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของนักคิดสมัยใหม่หลายท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักคิดชาวอเมริกัน ชื่อเคน วิลเบอร์ ซึ่งเขาได้เสนอระบบคิดแบบ AQAL และการสร้างจิตสำนึกบูรณาการ สอดคล้องกับระบบคิดของเคน วิลเบอร์ ในด้านการบูรณาการศาสนากับการแพทย์ ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของการบูรณาการของการแพทย์แผนไทย ที่สามารถผสานกระบวนการคิดแบบูรณาการของตะวัออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน ด้วยจุดร่วมเดียวกันคือ มนุษยชาติควรได้รับการทนุถนอมและดูแลอย่างเอาใจใส่ วิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนทัศน์แบบบูรณาการ ด้วยการแสวงหาจุดประสานร่วมกันกับศาสนา ซึ่งจะต้องมีการบ่มเพาะจิตสำนึกการเรียนรู้แบบบูรณาการในโรงเรียนแพทย์ และได้ยกตัวอย่างผลงานการวิจัยในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท เป็นตัวอย่างประกอบ
กล่าวโดยสรุป ศาสนากับการแพทย์ สามารถบูรณาการเข้าด้วยกันได้สำเร็จ เพื่อที่จะรับใช้ต่อ การสร้างเสริมความอยู่ดีมีสุขและคุณภาพชีวิตระดับมาตรฐาน ทั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ ย่อมขึ้นอยู่กับบทบาทและหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์และการเรียนการสอนที่ให้การตระหนักอย่างสูงต่อการการบ่มเพาะจิตวิญญาณแห่งบูรณาการศาสตร์แก่นักเรียนแพทย์อย่างจริงจัง ผลที่เกิดขึ้น ย่อมจะเป็นคุณูปการแก่คนไทยทั้งมวลอย่างยิ่งยวด.
บทคัดย่อ
เทคนิคปรัชญากับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ โดยใช้เทคนิควิธีปรัชญา หมายถึง การนำกระบวนการเรียนรู้และเทคนิคปฏิบัติทางปรัชญามาใช้ในการกระตุ้นคุณลักษณะที่เจริญงอกงามที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวผู้เรียน ให้คุณลักษณะเหล่านั้นได้ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดภายนอก เปรียบเทียบได้กับการขุดค้นขุมทรัพย์จากภายในตัวมนุษย์ แล้วนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างบริบูรณ์
เทคนิควิธีปรัชญาที่ผู้เขียนได้เสนอให้ นำมาใช้ได้แก่ (๑) วิธีการของโสกราตีส (๒) การเสริมสร้างความคิดเชิงบวกด้วยหลักบัญญัติ ๑๐ ประการของปรัชญา (๓) วิธีการนิรนัย-อุปนัย ผสมผสานกับการแสวงหาความรู้เชิงประจักษ์ ที่นำมาบูรณาการกับเทคนิคปรัชญาวิพากษ์ (๔) เทคนิคการคิดสร้างสรรค์แบบSIPAR และ (๕) เทคนิคซิมโพเซียมและวาทศาสตร์ผู้นำ
โครงสร้างของบทความนี้ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (๑) การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ด้วยด้านปฏิภาณไหวพริบในการตั้งคำถามประเด็นปัญหา ด้วยวิธีการของโสกราตีส (๒)การเสริมสร้างศักยภาพด้านการก่อตัวของการคิดเชิงบวกด้วยหลักบัญญัติ ๑๐ ประการของปรัชญา (๓)การผสมผสานบูรณาการการใช้เหตุผลร่วมกับการคิดวิพากษ์ (๔)เทคนิคการคิดสร้างสรรค์แบบSIPARโดยแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบแบบไตรภาคีของมนุษย์ในการผลิตความคิด สู่การคิดค้นเทคโนโลยีและการสร้างสรรค์อารยธรรม บุคคลจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดเป็นอย่างหลากหลายวิธี ทั้งนี้เพราะมนุษย์เราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆอย่างหลากหลายรูปแบบในท่ามกลางสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ต่างกาละ ต่างเทศะต่างบุคคลอยู่เสมอในการดำรงชีวิต และ (๕) เทคนิคซิมโพเซียมและวาทศาสตร์ผู้นำ ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพอย่างบูรณาการ ๓ ทักษะได้แก่ ทักษะการวิเคราะห์ตนเอง ทักษะวาทศาสตร์ผู้นำ และทักษะศิลปะการเป็นผู้นำตนเอง โดยผู้เขียนได้คิดค้นเทคนิคการพัฒนาที่เรียกว่า หลักวาทศาสตร์อัคนี ๑๒ กองไฟแห่งความสำเร็จ มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพด้านบุคลิกภาพและการสื่อสาร
กล่าวโดยสรุปแล้ว วิชาปรัชญามีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้เขียนเสนอแนะว่า การศึกษาปรัชญา ด้วยการนำเทคนิคปรัชญามาใช้ในการพัฒนามนุษย์ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความเจริญเติบโต บรรลุสู่วุฒิภาวะ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ภูมิปัญญา และทักษะทางสังคม ได้อย่างเป็นลำดับขั้นที่เหมาะสมกับชีวิต จากภาวะความโง่เขลา ไปสู่ภาวะความรู้แจ้ง -เป็นการบรรลุเป้าหมายของการศึกษาอย่างแท้จริง.
Abstract
Philosophical Techniques For Human Potentiality Development
Wareeya Bhavabhutanonda
Human potentiality development by using philosophical techniques is defined as applying processes of philosophical learning and practicing that enable to stimulate individuals latent well-being characteristics to come out and grow toward maturity. It could be imagined with a discovery of treasure that was hidden in a secret place inside and brought to be used beneficially and fully to human quality of life.
Philosophical techniques presented in this paper are (1) the Socratic Method , (2) The Ten Commandments of Philosophy,(3) the Integral Technique of Rationing and Critical thinking, (4) The SIPAR Technique for Creative Thinking Practices, and (5)The Symposium Technique and Rhetoric for Leadership.
There are 5 main parts in this paper:- (1) human potential development of wisdom through methods of doubt and Socratic method ,(2) implementation of individuals positive thinking by The Ten Commandment of Philosophy ,(3) the integral techniques of rationalization and critical thinking,(3) SIPAR for creative thinking enhancing. This includes triad of human beings productions of thoughts and civilization making. Multidimensional thinking, therefore, is needed for everyone in order to manage with various situations in life, and, (5) techniques of Symposium and Rhetoric for Leadership integrating with 3 important skills, that is, self analysis skill, communication skill, and the art of self leadership. Through this stage of human potentiality development, the author had designed an original technique named, The 12 Agni Rhetoric for Success , to establish ones personality, leadership, and communication skill.
In conclusion, philosophy is greatly beneficial to human development. Furthermore, the author suggests that by applying philosophical techniques for human potentiality development, this promotes growth and maturity in ones sound body, sound mind, wisdom and well rounded social skills that are appropriated to ones well being and meaningful existence. That is, -the transformation from ones state of ignorance to the state of enlightenment-the true aims of education.
สรุป คุณประโยชน์ของเทคนิคปรัชญาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
วิจารณ์ และเสนอแนะ
คุณประโยชน์ของเทคนิคปรัชญาเหล่านี้คือ
- กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
-ก่อให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ใหม่ร่วมกันเป็นทีม
- เสริมสร้างทักษะการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
- กระตุ้นศักยภาพความคิดสร้างสรรค์
- เกิดทักษะการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์
- เสริมสร้างภาวะผู้นำ-ผู้ร่วมงานที่ดี
- ทักษะการสื่อสารความรู้ ความคิด
อย่างไม่เลื่อนลอย และอย่างเป็นระบบระเบียบ
มีหลักคิดที่ดีไม่คิดแบบจับแพะชนแกะ
ไม่คิดแบบสะเปะสะปะที่ ขาดความสมเหตุสมผล
และขาดสัมพันธภาพที่เชื่อมโยง
สนใจขอฉบับเต็มได้ที่ wareeya@hotmail.com /
for more details please contact wareeya@hotmail.com